เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
พระเนตรแล้ว ก็ไม่เสียพระทัย ไม่กริ้ว ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท พระองค์มีพระวรกาย
ตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน ทรงหลุดพ้นดีแล้ว สดับเสียงทาง
พระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรสทางพระ-
ชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้ธรรมารมณ์
ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ติดพระทัย ไม่ทรงยินดีธรรมารมณ์ที่น่าพอพระทัย ไม่ทรงให้
เกิดความกำหนัด พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน
ทรงหลุดพ้นดีแล้ว ทรงรู้ธรรมารมณ์นั้นที่ไม่น่าพอใจทางพระทัยแล้ว ก็ไม่เสียพระทัย
ไม่กริ้ว ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรง
อยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็มีพระวรกายตั้งมั่นในรูปที่
ชอบพระทัยและไม่ชอบพระทัย มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
สดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรส
ทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้
ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็มีพระวรกายตั้งมั่นในธรรมารมณ์ที่ชอบพระทัยและ
ไม่ชอบพระทัย มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็ไม่ทรงกำหนัดในรูปที่ชวน
กำหนัด ไม่ขัดเคืองในรูปที่ชวนขัดเคือง ไม่หลงในรูปที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในรูปที่
ชวนให้โกรธ ไม่เศร้าหมองในรูปที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในรูปที่ชวนให้มัวเมา
สดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรส
ทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้
ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ทรงกำหนัดในธรรมารมณ์ที่ชวนให้กำหนัด ไม่
ทรงขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้ขัดเคือง ไม่หลงในธรรมารมณ์ที่ชวนให้หลง
ไม่ทรงมัวเมาในธรรมารมณ์ที่ชวนให้มัวเมา ไม่ทรงเศร้าหมองในธรรมารมณ์ที่ชวน
ให้เศร้าหมอง
พระผู้มีพระภาคเมื่อทอดพระเนตร ก็สักว่าทอดพระเนตร เมื่อสดับก็สักว่า
สดับ เมื่อรับรู้ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็สักว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ก็สักว่ารู้แจ้ง
ไม่ทรงติดในรูปที่ทรงเห็น ไม่ทรงติดในเสียงที่ได้สดับ ไม่ทรงติดในกลิ่น ไม่ทรงติด
ในรสและไม่ทรงติดในสัมผัสที่รับรู้ ไม่ทรงติดในธรรมารมณ์ที่ทรงรู้แจ้ง ไม่มีตัณหา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :116 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ไม่มีใจประทุษร้าย ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูป
ที่ทรงเห็น มีพระทัยเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ ไม่มีตัณหา ไม่มีใจประทุษร้าย
ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย ไม่ทรงพัวพัน พ้นขาด ไม่ทรงเกี่ยวข้องในเสียงที่ได้สดับ
ฯลฯ ในกลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ ฯลฯ ในธรรมารมณ์ที่ทรงรู้แจ้ง มีพระทัย
เป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่
พระผู้มีพระภาคมีพระเนตร ทรงเห็นรูปทางพระเนตร แต่พระผู้มีพระภาคไม่
ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาค
ก็มีพระโสต สดับเสียงทางพระโสต แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย
มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคก็มีพระนาสิก ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิก
แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มี-
พระภาคก็มีพระชิวหา ทรงลิ้มรสทางพระชิวหา แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วย
ความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคก็มีพระวรกาย ทรงถูก
ต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกาย แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มี
พระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคก็มีพระทัย ทรงรู้ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว
แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว
ตาชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระผู้มีพระภาคทรงฝึก คุ้มครอง รักษา
สำรวมพระเนตร และทรงแสดงธรรมเพื่อสำรวมตานั้น หูชอบเสียง ยินดีในเสียง
ชื่นชมในเสียง ฯลฯ จมูกชอบกลิ่น ยินดีในกลิ่น ฯลฯ ลิ้นชอบรส ยินดีในรส
ชื่นชมในรส พระผู้มีพระภาคทรงฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมลิ้น และทรงแสดง
ธรรมเพื่อสำรวมลิ้นนั้น กายชอบโผฏฐัพพะ ยินดีในโผฏฐัพพะ ชื่นชมในโผฏฐัพพะ
ใจชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์ พระผู้มีพระภาคทรงฝึก
คุ้มครอง รักษา สำรวม และทรงแสดงธรรมเพื่อสำรวมใจนั้น
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
คนทั้งหลายนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม
พระราชาย่อมทรงราชพาหนะที่ฝึกแล้ว
ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้ว ซึ่งอดกลั้นต่อคำล่วงเกินได้ ประเสริฐสุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :117 }